หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันภาครัฐมีแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ภายใต้โมเดล "ประเทศไทย 4.0" และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี"ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโดยตั้งอยู่บนฐานของวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม และเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น ให้สามารถพึ่งตนเองและจัดการตนเอง ผ่านแนวทางหนึ่ง คือ การยกระดับสินค้าและบริการของชุมชนให้มีศักยภาพ โดยสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างโอกาสในการเข้าถึงช่องทางการตลาด การท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยจะสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว ให้สามารถพึ่งตนเองได้ และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชนรวมถึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างความเท่าเทียม ซึ่งจะนาไปสู่การเป็นฐานรากทางเศรษฐกิจที่มั่นคง แต่จากการที่สินค้าชุมชนส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนามาจากชุมชน ทาให้ที่ผ่านมาสินค้าชุมชนบางส่วนยังขาดการพัฒนาในด้านคุณภาพและการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของตลาดส่งผลให้กลุ่มผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวบางส่วนยังขาดความเชื่อมั่นในสินค้าชุมชน ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการที่กลุ่มผู้ประกอบการเองยังขาดความรู้ความเข้าใจของการออกแบบและพัฒนา รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อันจะเป็นส่วนสำคัญที่จะนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP ได้ ดังนั้นผู้รับผิดชอบจึงเล็งเห็นความสำคัญที่จาเป็นที่จะผลักดันโครงการ "การพัฒนาและแปรรูปอาหารทะเลบนฐานทุนทางวัฒนธรรมคนเมืองใน" โดยจะต่อยอดจากงานวิจัยและบริการวิชาการเดิมที่คณะนักวิจัยของ มรส. เคยไปทาไว้ เรื่อง การแปรรูปอาหารพื้นถิ่นจาก พืช เช่น ต้นชะครามและต้นรากสามสิบ และสัตว์ทะเล เช่น ปูม้าดอนสัก หรือหอย เป็นต้น


วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยกระดับสินค้าโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงตรงตามความต้องการของผู้บริโภค

2) เพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบการตลาดออนไลน์ผ่านช่องทางอีเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ที่มีความหลากหลายดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

3) เพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวและพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากตำบลดอนสัก

กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมาย

1) ผู้ประกอบการด้านอาหารและสมุนไพรเพื่อสุขภาพ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

2) ผู้สูงอายุ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่เป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

3) คณะกรรมการเครือข่ายด้านความมั่นคงทางอาหารและสมุนไพรเพื่อสุขภาพ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน ประธานวิสาหกิจชุมชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่เป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

สถานที่

สถานที่

ณ โรงเรียนบ้านปากดอนสัก หมู่ที่ 7 ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี


กิจกรรม

1) สำรวจรวบรวม “ข้อมูลตำรับอาหารพื้นถิ่นคนเมืองใน”

2) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาและแปรรูปอาหารทะเล บนฐานทุนทางวัฒนธรรมคนเมืองใน”

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1) ผู้ประกอบ/กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในตำบลดอนสัก จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าที่มีมูลค่าสูงตรงตามความต้องการของผู้บริโภคในตลาดและการสร้างตราสินค้าให้เกิดการจดจาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่น่าดึงดูดใจ เหมาะแก่การใช้งานของผู้บริโภค รวมถึงการผลิตสื่อรูปภาพและคลิปวีดีโอ ในการทาการตลาดออนไลน์ผ่านสื่อช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) และสามารถเลือกใช้สื่อต่าง ๆ ในการทาตลาดระบบตลาดดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม สามารถเพิ่มช่องทางการตลาดได้อย่างหลากหลาย ส่งผลต่อยอดขายที่เพิ่มขึ้นได้อย่างยั่งยืน

2) ได้รูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวและเชื่อมโยงภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงพื้นบ้านตำบลดอนสัก จังหวัดสุราษฏร์ธานี

3) ชุมชนได้แนวทางและสามารถสร้างสื่อเพื่อการส่งเสริมประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลดอนสัก และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงพื้นบ้านตำบลดอนสัก



หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันภาครัฐมีแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ภายใต้โมเดล "ประเทศไทย 4.0" และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี"ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโดยตั้งอยู่บนฐานของวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม และเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น ให้สามารถพึ่งตนเองและจัดการตนเอง ผ่านแนวทางหนึ่ง คือ การยกระดับสินค้าและบริการของชุมชนให้มีศักยภาพ โดยสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างโอกาสในการเข้าถึงช่องทางการตลาด การท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยจะสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว ให้สามารถพึ่งตนเองได้ และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชนรวมถึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างความเท่าเทียม ซึ่งจะนาไปสู่การเป็นฐานรากทางเศรษฐกิจที่มั่นคง แต่จากการที่สินค้าชุมชนส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนามาจากชุมชน ทาให้ที่ผ่านมาสินค้าชุมชนบางส่วนยังขาดการพัฒนาในด้านคุณภาพและการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของตลาดส่งผลให้กลุ่มผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวบางส่วนยังขาดความเชื่อมั่นในสินค้าชุมชน ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการที่กลุ่มผู้ประกอบการเองยังขาดความรู้ความเข้าใจของการออกแบบและพัฒนา รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อันจะเป็นส่วนสำคัญที่จะนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP ได้ ดังนั้นผู้รับผิดชอบจึงเล็งเห็นความสำคัญที่จาเป็นที่จะผลักดันโครงการ "การพัฒนาและแปรรูปอาหารทะเลบนฐานทุนทางวัฒนธรรมคนเมืองใน" โดยจะต่อยอดจากงานวิจัยและบริการวิชาการเดิมที่คณะนักวิจัยของ มรส. เคยไปทาไว้ เรื่อง การแปรรูปอาหารพื้นถิ่นจาก พืช เช่น ต้นชะครามและต้นรากสามสิบ และสัตว์ทะเล เช่น ปูม้าดอนสัก หรือหอย เป็นต้น


วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยกระดับสินค้าโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงตรงตามความต้องการของผู้บริโภค

2) เพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบการตลาดออนไลน์ผ่านช่องทางอีเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ที่มีความหลากหลายดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

3) เพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวและพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากตำบลดอนสัก

กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมาย

1) ผู้ประกอบการด้านอาหารและสมุนไพรเพื่อสุขภาพ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

2) ผู้สูงอายุ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่เป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

3) คณะกรรมการเครือข่ายด้านความมั่นคงทางอาหารและสมุนไพรเพื่อสุขภาพ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน ประธานวิสาหกิจชุมชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่เป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

สถานที่

ณ โรงเรียนบ้านปากดอนสัก หมู่ที่ 7 ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี


กิจกรรม

1) สำรวจรวบรวม “ข้อมูลตำรับอาหารพื้นถิ่นคนเมืองใน”

2) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาและแปรรูปอาหารทะเล บนฐานทุนทางวัฒนธรรมคนเมืองใน”

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1) ผู้ประกอบ/กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในตำบลดอนสัก จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าที่มีมูลค่าสูงตรงตามความต้องการของผู้บริโภคในตลาดและการสร้างตราสินค้าให้เกิดการจดจาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่น่าดึงดูดใจ เหมาะแก่การใช้งานของผู้บริโภค รวมถึงการผลิตสื่อรูปภาพและคลิปวีดีโอ ในการทาการตลาดออนไลน์ผ่านสื่อช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) และสามารถเลือกใช้สื่อต่าง ๆ ในการทาตลาดระบบตลาดดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม สามารถเพิ่มช่องทางการตลาดได้อย่างหลากหลาย ส่งผลต่อยอดขายที่เพิ่มขึ้นได้อย่างยั่งยืน

2) ได้รูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวและเชื่อมโยงภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงพื้นบ้านตำบลดอนสัก จังหวัดสุราษฏร์ธานี

3) ชุมชนได้แนวทางและสามารถสร้างสื่อเพื่อการส่งเสริมประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลดอนสัก และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงพื้นบ้านตำบลดอนสัก

รูปภาพโครงการ

วิดีโอโครงการ